คำถามที่พบบ่อย
บัญชีมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด มีประเภทบัญชีหุ้นและอนุพันธ์ ให้บริการดังนี้

1.) บัญชีหุ้น ได้แก่ 1.1) บัญชี Cash Account (บัญชีเงินสด), 1.2) บัญชี Cash Balance (บัญชีวางหลักประกันเต็มจำนวน) และ 1.3) บัญชี Credit Balance (บัญชีเงินกู้ หรือ มาร์จิ้น) โดยรายละเอียดบัญชีหุ้นแต่ละประเภทมีดังนี้

หัวข้อ

Cash Account 
(บัญชีเงินสด)

Cash Balance

(บัญชีวางหลักประกันเต็มจำนวน)

Credit Balance

(บัญชีเงินกู้ หรือ มาร์จิ้น)

รายละเอียดบัญชี
บัญชีลงทุนก่อนจ่ายทีหลัง บัญชีนี้ทางบริษัทหลักทรัพย์จะอนุมัติวงเงินให้นักลงทุนยืมไปเทรดก่อน โดยที่นักลงทุนต้องวางเงินประกัน 20% จากนั้นบริษัทหลักทรัพย์จะทำการตัดเงินในบัญชีออมทรัพย์อีก 2 วันข้างหน้า (T+2) โดยบริษัทหลักทรัพย์จะกำหนดวงเงินในการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนแต่ละคนตามฐานะทางการเงิน, หลักประกัน และความสามารถในการชำระหนี้ บัญชีซื้อขายหุ้นที่นักลงทุน ต้องฝากเงินไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ก่อน หากสั่งซื้อหุ้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีทันที (Line Available) ดังนั้นก่อนส่งคำสั่งซื้อขายนักลงทุนต้องตรวจสอบว่ามีเงินในบัญชีหลักทรัพย์ (Line Available) ที่เพียงพอสำหรับ ชำระค่าซื้อหุ้นหรือไม่ บัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์เปิดเพื่อให้สินเชื่อกับนักลงทุนในการลงทุนซื้อหุ้น โดยนักลงทุนจ่ายเงินซื้อเอง ส่วนหนึ่ง ที่เหลือบริษัทหลักทรัพย์จะเป็นฝ่ายจ่าย ซึ่งเงินที่บริษัทหลักทรัพย์จ่ายให้นั้น ถือว่าเป็นเงินส่วนที่ นักลงทุนกู้จากบริษัทหลักทรัพย์นั่นเอง โดยอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่บริษัทหลักทรัพย์กำหนด
วางหลักประกัน
20% 100% (เต็มจำนวน)
ตามประกาศบริษัท
ดอกเบี้ยบนหลักประกันที่วางไว้ ไม่มี ไม่มี ไม่มี
 
ระยะเวลาการชำระเงิน
2 วันข้างหน้า (T+2) ทันที (ตัดจาก Line Available) ทันที (ตัดจากเงินวางหลักประกันก่อน)
เหมาะสำหรับ นักลงทุนที่มีวินัยในการลงทุนและคิดว่าตัวเองมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดี นักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนที่ต้องการจำกัดวงเงินการลงทุน นักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนสูง มีความสามารถในการลงทุน และมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดี
มูลค่าซื้อขายต่อวัน อัตราค่าคอมมิชชั่นผ่านอินเตอร์เน็ต
0 - 5 ล้านบาท 0.100% 0.075% 0.075%
5 - 10 ล้านบาท 0.090% 0.065% 0.065%
10 - 20 ล้านบาท 0.075% 0.055% 0.055%
> 20 ล้านบาท 0.020% 0.020% 0.020%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต่อวัน 50 บาท ไม่มี ไม่มี
2.) บัญชีอนุพันธ์ บัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์และตราสารล่วงหน้าต่างๆ โดยลูกค้าจะต้องทำการวางหลักประกันก่อนส่งคำสั่งต่างๆ โดยอัตราหลักประกันจะเป็นไปตามที่ ตลาด Thailand Futures Exchange (TFEX) กำหนด
สินค้า จำนวนสัญญาต่อวัน ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด ผ่านอินเตอร์เน็ต
SET50 Futures 1-25 87.10 43.10
26-100 67.10
101-500 47.10
>500 37.10
SET50 Options 1-25 85.10 41.10
26-100 65.10
101-500 45.10
>500 35.10
10 Baht Gold Futures 1-25 98.10 48.60
26-100 78.10
101-500 58.10
>250 48.10
50 Baht Gold Futures 1-5 490.10 242.60
6-20 390.10
21-50 290.10
>50 240.10
Gold Online Futures 1-12 196.10 97.10
13-50 156.10
51-125 116.10
>125 96.10
Single Stock Futures (SSF) สำหรับหุ้นอ้างอิงที่ราคา (0.10% ของมูลค่า SSF) + 0.51 บาท (0.05% ของมูลค่า SSF) + 0.51 บาท
สำหรับหุ้นอ้างอิงที่ราคา > 100 บาท (0.10% ของมูลค่า SSF) + 5.10 บาท (0.05% ของมูลค่า SSF) + 5.10 บาท
หมายเหตุ
1. อัตราค่าคอมมิชชั่นนี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
2. บริษัทฯ ยังไม่เปิดบริการซื้อขาย Block Trade และการซื้อขายในช่วงภาคค่ำ (Night Session)
3. เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
วิธีการคำนวณค่าคอมมิชชั่น และค่าใช้จ่ายในการเทรด
มูลค่าซื้อขายต่อวัน อัตราค่าคอมมิชชั่นผ่านอินเตอร์เน็ต
บัญชี Cash Account บัญชี Cash Balance บัญชี Credit Balance
0 - 5 ล้านบาท  0.100% 0.075% 0.075%
5 - 10 ล้านบาท 0.090% 0.065% 0.065%
10 - 20 ล้านบาท 0.075% 0.055% 0.055%
> 20 ล้านบาท 0.020% 0.020% 0.020%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต่อวัน 50 บาท ไม่มี ไม่มี
 

ค่าคอมมิชชั่น = มูลค่าหุ้นที่ซื้อ x 0.075% ถึง 0.020%* (เปลี่ยนแปลงตามมูลค่าซื้อขายต่อวัน)

ค่าใช้จ่ายในการเทรด = (ค่าคอมมิชชั่น + ค่าธรรมเนียมตลาดและกำกับดูแล 0.007%) + ภาษี 7%

 

ตัวอย่าง1: ซื้อหรือขายหุ้นมูลค่า 10,000 บาท/วัน (บัญชี Cash Balance)

รายละเอียดค่าธรรเนียม วิธีการคำนวณ
ค่าคอมมิชชั่นช่วง 1-5 ล้าน (0.075%) 10,000 x 0.075% = 7.5 บาท
ค่าธรรมเนียมตลาดและกำกับดูแล (0.007%) 10,000 x 0.007% = 0.70 บาท
ภาษี (7%) (7.5 + 0.70) x 7% = 0.574 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการเทรด 10,000 บาท 7.5 + 0.70 + 0.574 = 8.774 บาท


ตัวอย่าง2: ซื้อหรือขายหุ้นมูลค่า 6,000,000 บาท/วัน (บัญชี Cash Balance)

รายละเอียดค่าธรรมเนียม วิธีการคำนวณ
ค่าคอมมิชชั่นช่วง 1-5 ล้าน (0.075%) 5,000,000 x 0.075% = 3,750 บาท
ค่าคอมมิชชั่นช่วง 5-10 ล้าน (0.065%) 1,000,000 x 0.065% = 650 บาท
ค่าธรรมเนียมตลาดและกำกับดูแล (0.007%) 6,000,000 x 0.007% = 420 บาท
ภาษี (7%) (3,750 + 650 + 420) x 7% = 337.40 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการเทรด 6,000,000 บาท 3,750 + 650 + 420 + 337.40 = 5,157.40 บาท

 

ตัวอย่าง3: ซื้อหรือขายหุ้นมูลค่า 32,000,000 บาท/วัน (บัญชี Cash Balance)

รายละเอียดค่าธรรมเนียม วิธีการคำนวณ
ค่าคอมมิชชั่นช่วง 1-5 ล้าน (0.075%) 5,000,000 x 0.075% = 3,750 บาท
ค่าคอมมิชชั่นช่วง 5-10 ล้าน (0.065%) 5,000,000 x 0.065% = 3,250 บาท
ค่าคอมมิชชั่นช่วง 10-20 ล้าน (0.055%) 10,000,000 x 0.055% = 5,500 บาท
ค่าคอมมิชชั่นช่วง 20 ล้านบาทขึ้นไป (0.020%) 12,000,000 x 0.020% = 2,400 บาท
ค่าธรรมเนียมตลาดและกำกับดูแล (0.007%) 32,000,000 x 0.007% = 2,240 บาท
ภาษี (7%) (3,750+3,250+5,500+2,400+2,240) x 7% =1,199.80 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการเทรด 32,000,000 บาท 17,140 + 1,199.80 = 18,339.80 บาท

 

รู้หรือไม่: หากท่านส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ 32,000,000 บาท ผ่านเจ้าหน่าที่การตลาดกับบริษัทหลักทรัพย์อื่นท่านจะเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 66,061.80 บาท


SBITO ช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า 47,722 บาท!!!

 
ถอนเงินทำอย่างไร

วิธีรับเงินมีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้
 
ประเภทที่ 1: เลือก ถอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารที่ลงทะเบียนไว้กับ SBITO หรือผ่านระบบ ATS

(สำหรับการถอนหลักประกันที่ไม่ได้ติดภาระผูกพันธ์ใด หากเป็นเงินสดที่เกิดจากการขายหลักทรัพย์ต้องพ้นกำหนดส่งมอบในวันที่T+2ไปแล้ว)

 

ประเภทที่ 2: เลือก นำไปชำระค่าซื้อหลักทร้ัพย์

(สำหรับถอนหลักประกันเพื่อนำไปชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ที่ยังไม่ถึงกำหนด โดยต้องเลือกจากรายการค้างชำระที่มี)




ประเภทที่ 3: เลือก นำไปฝากเป็นหลักประกันในบัญชี

(สำหรับย้ายเงินจากบัญชีประเภทหนึ่ง ไปยังบัญชีอีกประเภทหนึ่ง เช่น ย้ายจากบัญชี Cash Account ไป Cash Balance หรือ TFEX)
 


ประเภทที่ 4: เลือก ถอนเงินค่าขายเพื่อนำฝากเข้าบัญชีผ่านระบบ ATS

(สำหรับถอนค่าขายที่ยังไม่ถึงกำหนดส่งมอบ(T+2) โดยส่งคำสั่งถอนเงินในวันที่ T+1 เพื่อรับเงินค่าขายเข้าบัญชีออมทรัพย์ในวันที่ T+2)


 


 

หมายเหตุ
1. เงินที่ถอนได้ คือ เงินที่ผ่านการชำระราคาในวันที่ T+2 แล้ว
2. ห้ามนำจำนวนเงินที่ต้องการถอนไปซื้อหลักทรัพย์ มิฉะนั้นคำขอถอนเงินของท่านจะถูกยกเลิก
3. ลูกค้าต้องทำรายการถอนเงินก่อนเวลา 13.00 น. โดยลูกค้าจะได้รับเงินตั้งแต่ 14.00 น. ของวัดถัดไป (หากลูกค้าทำรายการหลังเวลา 13.00 น. ลูกค้าจะได้รับเงินในอีก 2 วันทำการถัดไป
4. 
สำหรับบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ประเภท Cash Balance และ Cash Account การส่งมอบหลักทรัพย์และการชำระราคา จะเกิดขึ้นจริงในวันที่ T+2
ต้องการเพิ่มวงเงินซื้อขายหลักทร้พย์ต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่ลูกค้ามีความประสงค์เพิ่มวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์/อนุพันธ์ กรุณาส่งเอกสารดังนี้ (อย่างน้อย 1 อย่าง)

- สลิปเงินเดือนเดือนล่าสุด จำนวน 1 เดือน

- Statement แสดงรายการเคลื่อนไหวบัญชี ย้อนหลัง 90 วัน (3 เดือน)

- พันธบัตร / สลากออมสิน / พอร์ตกองทุน (ยกเว้น LTF,RMF) หรือ พอร์ตการลงทุนทองคำ จำนวน 1 เดือน

- พอร์ตแสดงสินทรัพย์คงเหลือจากบริษัทหลักทรัพย์อื่นในรูปแบบสรุปสิ้นเดือนย้อนหลัง 2 เดือนล่าสุด หรือ สรุปสิ้นวันย้อนหลัง 2 วัน โดยต้องเป็นยอดสิ้นวันจากคนละเดือน(ล่าสุด)และห่างกันไม่น้อยกว่า 10 วัน

โดยสามารถขอเพิ่มวงเงินพร้อมทั้งแนบเอกสารประกอบได้ทางหน้าเว็บ เลือกหัวข้อ ข้อมูลลูกค้า > ขอเพิ่มวงเงิน/ปรับวงเงิน

ลืมรหัสผ่าน ต้องทำอย่างไร
อยากโอนหุ้นมา SBITO ต้องทำอย่างไร?
หากนักลงทุนมีความประสงค์ที่จะโอนหุ้นมายังบริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด (SBITO) กรุณาติดต่อบริษัทหลักทรัพย์ต้นทางของท่าน พร้อมแจ้งเลขที่บัญชีของท่านที่มีอยู่กับ SBITO และเลขสมาชิกศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของ SBITO “051” เพื่อที่บริษัทหลักทรัพย์ต้นทางสามารถโอนหุ้นของท่านได้อย่างถูกต้อง

หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมการโอนอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ (ประมาณ 50-100 บาท/รายชื่อหุ้น) และ ท่านสามารถแจ้งราคาต้นทุนของหุ้นกับทางบริษัทหลักทรัพย์ต้นทางเพื่อให้หุ้นที่โอนมาแสดงราคาต้นทุนเดิม หากไม่แจ้งราคาต้นทุนจะแสดงเป็นราคาตลาด ณ วันที่โอน
คำนวณค่าคอมมิชชั่น